“ผ้า” สื่อกลางระหว่างความเชื่อกับพิธีกรรม

นาหมื่นศรีเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอนาโยง มีชื่อเสียงในด้านผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดตรัง มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตรังเป็นเมืองท่าโบราณที่มีประวัติยาวนานนับพันปี สามารถย้อนกลับไปได้ถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผู้คนยังไม่รู้จักสื่อสารด้วยตัวอักษร มีหลักฐานตามถ้ำเขาต่าง ๆ ว่าบรรพบุรุษของชาวตรังอาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้มาไม่น้อยกว่า 5,๐๐๐ – 1๐,๐๐๐ ปี

ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยความรุ่งเรืองของอาณาจักรโบราณในภาคใต้ เช่น ตามพรลิงค์ ศรีวิชัย แม่น้ำตรังเป็นหนึ่งในเส้นทางข้ามคาบสมุทรของผู้คนจากอินเดีย อาหรับ ตลอดจนยุโรป แสดงให้เห็นว่าท่าเรือเมืองตรังเป็นประตูทางผ่านศาสนา การค้าและการทูตจากต่างแดนตั้งแต่เริ่มอาณาจักรโบราณในภาคใต้ โดยเมืองตรังมีชื่อในฐานะเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตร ของนครศรีธรรมราช ในอดีต เมืองตรังมักจะถูกกล่าวชื่อในฐานะส่วนหนึ่งของนครศรีธรรมราชมาตลอด

จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก และต่อมาเมื่อมีระบบมณฑลเทศาภิบาล ตรังอยู่ในการปกครองของมณฑลภูเก็ต หลังการประกาศยุบเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยมาจนปัจจุบัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง จากเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันวันที่ 29 มิถุนายน 2458 กล่าวถึงในสมัยที่รัชกาล ที่ 6 เสด็จจังหวัดตรัง ว่า “สมุหเทศาภิบาลมณฑลได้ทรงจัดผ้าพรรณทุกอย่างซึ่งเป็นของทำในพื้นบ้าน เช่น ผ้ายก ผ้าราชวัตร ผ้าตาสมุก ผ้าคาด ผ้าเช็ดหน้า ถวายประทานแจกแก่ข้าราชการตามสมควร” และได้ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ได้ทอดพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง ข้อความตอนหนึ่งว่า “ใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่หัดทอผ้ามีผู้หญิงมาหัดทอมาก” ย่อมแสดงว่าผ้าทอเมืองตรังมีมาก รวมทั้งในชุมชนนาหมื่นศรีด้วย

จากคำบอกเล่าของคนเฒ่า คนแก่แห่งบ้านนาหมื่นศรี ทำให้รู้ว่าการทอผ้าได้ขาดหายไปช่วงหนึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเพราะขาดเส้นด้ายที่จะใช้ทำวัตถุดิบ รวมทั้งการทอผ้าประจำบ้านที่ใช้วัสดุธรรมชาติปั่นฝ้ายย้อมสีเองก็ลดลง เนื่องจากการมีเส้นใยย้อมสีสำเร็จรูปเข้ามาแทนที่ หรือการมีผ้าจากโรงงานและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สามารถซื้อได้ง่ายกว่าการลงมือทอเอง การทอผ้านาหมื่นศรีฟื้นคืนมาอีกครั้งเมื่อราว พ.ศ.2514 โดยยายนาง ช่วยรอด คนดั้งเดิมของหมู่บ้านรวบรวมคนทอผ้าอายุรุ่นเดียวกัน ได้ 3 คน คือ ยายผอม ขุนทอง ยายอิน เชยชื่นจิตร และยายเฉิ่ม ชูบัว ช่วยกันซ่อมแซม กี่ กับเครื่องมือเก่าๆ ให้ใช้การได้แล้วลงมือทอผ้าด้วยความตั้งใจว่าจะให้ลูกหลานได้รู้จักผ้าทอและวิธีทอผ้าแบบดั้งเดิม ต่อมา นางกุศล นิลลออ บุตรสาวของยายนาง เป็นผู้รับช่วงกิจกรรมงานทอผ้า จากนั้นหน่วยงานราชการได้ให้ความสนใจและเข้ามาส่งเสริม – ที่มาผ้าทอนาหมื่นศรี

การทอผ้าบ้านนาหมื่นศรี มีการทอผ้ากันมานานนับร้อยปีแล้วประมาณสามชั่วอายุคน โดยเอกลักษณ์ของผ้าทอนาหมื่นศรี คือ การทอยกดอกบนผ้าพื้นแดงดอกเหลือง โครงสร้างของผืนผ้าและลวดลายมี ลักษณะการทอบางประการที่ต่างจากผ้าทอท้องถิ่นอื่นๆ นั่นคือ การถักทอส่วนประกอบของผืนผ้าใช้วิธีการทอเรียงลำดับตามแนวเส้นยืนและตามแนว เส้นพุ่ง ส่วนลวดลายผ้าบางลวดลายต้องอาศัยการทอโดยใช้กี่โบราณ

ผ้านาหมื่นศรีแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตาม ลักษณะการใช้งานได้แก่

1) ผ้าเช็ดหน้า มักเรียกว่า ลูกผ้าหรือผ้านุ้ย (นุ้ย ในภาษาท้องถิ่นภาค ใต้ แปลว่า เล็ก) มักทอเป็นผ้าผืนเล็ก เป็นผ้าที่ใช้ติดตัวที่หญิง ชายนิยมเหน็บเอวอวดกัน โดยทั่วไปใช้เช็ดปาก (เช็ดนาหมาก) ปูกราบพระ กราบขอขมา และห่อขันหมาก

2) ผ้าห่ม ความหมาย ณ ที่นี้หมายถึง ผ้าพาดเฉียง ผ้าพาดบ่า ผ้า เบี่ยง และผ้าสไบ

3) ผ้านุ่ง มักใช้ในชีวิตประจำาวัน ผู้ชายจะโจงกระเบนสำาหรับไปงาน พิธีการ นุ่งโสร่ง นุ่งหยักรั้ง นุ่งเลื้อยชาย นุ่งเคว็ดจ้อน ส่วนผู้หญิง จะนุ่งโจงกระเบนตลอด แต่บางครั้งก็ใช้หางโจงกระเบนเหน็บไว้ ข้างๆ เอวแบบเคว็ดจ้อน

4) ผ้าทอด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ เท่าที่พบได้แก่ ผ้าถวายพระ  ผ้าตั้ง และผ้าพานช้าง  การทอผ้าของชาวบ้านนาหมื่นศรีนอกจากเป็นการผลิตปัจจัยเพื่อการ ดำรงชีวิตแล้ว ยังเป็นการบอกความประสงค์ อุดมคติ ความเชื่อ และความ ศรัทธาไว้ในผืนผ้าอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากผ้าทอด้วยวัตถุประสงค์พิเศษซึ่ง จะมีการทอบันทึกข้อความต่างๆ ของผู้ทอไว้อย่างน่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงผ้าในฐานะเป็นสื่อกลางระหว่างความเชื่อ กับพิธีกรรม โดยพบว่าผ้านาหมื่นศรีมีลักษณะดังกล่าว อันได้แก่ ผ้าเบี่ยง ผ้า ถวายพระ ผ้าตั้ง และผ้าพานช้าง ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไปตามลาดับ

ผ้าเบี่ยงเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมการบวชนาค

ชาวบ้านนาหมื่นศรีมีความเชื่อในโลกแห่งสวรรค์ผ่านการทอผ้า ผ้าเบี่ยงจะถูกทอยกดอกด้วยผ้าสีเหลืองแดง โดยผู้เป็นแม่เตรียมทอไว้อย่างสุดฝีมือ เพื่อแต่งตัวให้ลูกชายเมื่อเข้าสู่วัยบวชเรียน ด้วยมีความรู้สึกเสมือนว่าจะได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่สวรรค์ การบวชนาคนอกจากจะเป็นพิธีกรรมที่แสดง ถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้ที่บวชแล้ว ยังถือเป็นการสร้างบุญกุศลให้แก่ บุพการีอีกด้วย และเมื่อผู้เป็นแม่ในอดีตย่างเข้าสู่ความเป็นย่ายาย ผ้าผืนที่เคยใช้กับลูกชายก็ได้ถูกส่งต่อไปยังรุ่นหลานเหลนให้สืบทอดวิถีดีงามแบบฉบับของคนนาหมื่นศรี

ลำดับต่อมาคือ ผ้าถวายพระเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมงานบุญทั่วไป ของชาวนาหมื่นศรี เท่าที่พบเป็นผ้าทอถวายพระ 2 ลักษณะ คือ ทอเป็น ผ้าเช็ดหน้าและทอเป็นอาสนะ ผู้ทอมักจะใช้ลายตัวหนังสือถักทอลงบนผืน ผ้าโดยมีความเชื่อว่าข้อความที่ถูกทอบันทึกนั้นจะเป็นเสมือนการส่งสาส์น บอกโลกเบื้องหน้าให้รับรู้ถึงการประกอบกรรมดีของผู้ทอที่มาร่วมงานบุญ ซึ่งข้อความที่พบได้ถูกทอบันทึกบนผ้าถวายพระที่ทอเป็นผ้าเช็ดหน้า และทอเป็นอาสนะตามลำดับ

ผ้าถวายพระเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมงานบุญทั่วไป

เท่าที่พบเป็นผ้าทอถวายพระ 2 ลักษณะ คือ ทอเป็นผ้าเช็ดหน้า และทอเป็นอาสนะ ผู้ทอมักจะใช้ลายตัวหนังสือถักทอลงบนผืน ผ้าโดยมีความเชื่อว่าข้อความที่ถูกทอบันทึกนั้นจะเป็นเสมือนการส่งสาส์น บอกโลกเบื้องหน้าให้รับรู้ถึงการประกอบกรรมดีของผู้ทอที่มาร่วมงานบุญ ซึ่งข้อความที่พบได้ถูกทอบันทึกบนผ้าถวายพระที่ทอเป็นผ้าเช็ดหน้าและ ทอเป็นอาสนะตามลำดับไว้ว่า

“แม่ตายพลัดพรากจากไปไกลชาติหน้า ขอให้พบประสบกัน นาง ฝ้ายได้จัดทำา”
(อุบลศรี อรรถพันธุ์ และซัลมา วงศ์ศุภรานันต์ 2540: 105)

“หลงคิดสงสัยมีบุญมากพากายไคลวันตายไปพวกพร้องร้องยำายี
เวลาเกิดไม่ได้สิ่งใดหนา พากายาอย่างเยื่องไป เมืองผีฝ้ายบ้าน ใสโพเมืองตรัง”
(อุบลศรี อรรถพันธุ์ และซัลมา วงศ์ศุภรานันต์ 2540: 109)

ดังนั้นผ้าถวายพระของชาวนาหมื่นศรีจึงไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องสักการะบูชาแก่พระสงฆ์เท่านั้น แต่การบันทึกข้อความในผืนผ้ายังเป็นการระลึกถึงความตายอันจะช่วยให้ดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท

ผ้าตั้งเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมแต่งงาน

เริ่มจากเมื่อฝ่ายชายไปเจรจาขอหมั้น ฝ่ายหญิงจะเรียกสินสอดเป็นเงิน ในสมัยก่อนเรียกเป็น จำนวนบาท เช่น 9 บาท, 19 บาท และ 29 บาท ฝ่ายหญิงเรียกสินสอดไปเท่าไหร่ ก็ต้องเตรียมทอผ้าไว้ให้ฝ่ายชายให้เหมาะสมกับที่ตกลงกันไว้ เช่น เรียก 9 บาท ผ้า 1 สำรับ, เรียก 19 บาท ผ้า 2 สำรับ และเรียก 29 บาท ผ้า 3 สำรับ โดยใน 1 สำรับนั้นประกอบด้วย ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าห่ม 1 ผืน เมื่อเจ้าบ่าวยกขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาว ก็จะเปลี่ยนผ้าสำรับใหม่ที่เจ้าสาวทอเตรียมไว้ให้

การที่ผู้เป็นเจ้าสาวเตรียมทอผ้าให้กับผู้เป็นเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงานนั้น เพราะมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของฝ่ายชายจะรับรู้และให้ความเอ็นดูในการเข้ามาเป็นลูกสะใภ้ หลานสะใภ้ผ่านการตั้งใจทอผ้าตั้ง

ความเชื่อดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการใช้ผ้าไหว้ในพิธีแต่งงานของชาวมอญที่เชื่อว่าผีบรรพบุรุษฝ่ายชายจะรับรู้การเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่โดยผ่านผ้าไหว้ก่อนที่จะทำาพิธีลุมตาเพื่อแปลงผีอย่างเป็นทางการ

ผ้าที่มีความสำาคัญยิ่งต่อพิธีกรรมงานศพ

ผ้าพานช้าง ซึ่งหญิงผู้ผ่านความเป็นแม่ก้าวสู่วัยปลายของชีวิต ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวและตระหนักในธรรมดาโลก เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามหลักพระพุทธศาสนา จะเตรียมทอผ้าไว้ 2 ผืน สำหรับตนเองและสำหรับคู่ชีวิต หรือทอให้แก่ผู้ที่รักใคร่นับถือกัน

ผ้าพานช้าง
ผ้าพานช้าง

โดยมีความเชื่อว่าผ้าจะเป็นบันไดก้าวไปสู่โลกเบื้องหน้า ผ้าพานช้างมีลักษณะเป็นผ้าทอผืนยาว เกิดจากการทอผ้าเช็ดหน้าต่อกันหลายผืน เดิมใช้ 12 ผืน หรือน้อยกว่าแต่เป็นจำนวนคู่ พับทบกันเป็น 4 ทบ วางบนพานและพาดขึ้นไปบนโลงศพก่อนเผา แต่ละช่องของผ้าเช็ดหน้าที่พาดจากโลงศพลงมาเปรียบเสมือนเป็นบันไดทอด นำผู้ตายขึ้นสู่สรวงสวรรค์

หลังจากเสร็จพิธีกรรมเผาศพแล้ว เจ้าภาพจะตัดแบ่งผ้าเป็นชิ้นๆ ถวายพระเพื่อใช้เป็นผ้าเช็ดปาก เช็ดมือ ตามแต่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือแจกลูกหลานเก็บไว้เป็นที่ระลึก

สำาหรับคนทอผ้านาหมื่นศรีถือว่าผ้าพานช้างเป็นผืนผ้าที่สำคัญที่สุดในชีวิต เป็นดั่งผ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ทอตัวอักษรเรียงเป็นบรรทัด ร้อยถ้อยคำเป็นคำกลอน เป็นคติสอนใจ บ้างก็เป็นโคลงประวัติของผู้ทอ ทั้งนี้ การทอบันทึก ข้อความต่างๆ ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงศรัทธาความเชื่อในคุณความดี ละจากบาปและความชั่ว เพื่อให้ชีวิตหลังความตายพบเจอสิ่งที่ดีงามยิ่งกว่า ดังข้อความที่ทอลงบนผ้าพานช้างจำานวน 4 แถวโดยเรียงสลับซากันไปมาว่า

“ ฝ้ายสุขคงรักเสมอศีลห้า พระตรัสไว้ไม่ใช่หกตกนรกเสมอคง ไม่เรื้อหัวว่าสร้างความดีหนีความชั่วบุญกับตัวจำาต้องสร้างเมื่อ ล้างกรรม จำาเอาไว้ศีลห้าอย่าไปทำาใครถือ ได้กรรมหายไปจาก ร่าง ใครล้างกรรมหายจะได้สุข ใครได้ขึ้นชั้นฟ้าใช่ว่าหน่อยชม นางฟ้าห้าร้อยสวยใจหาย มีนางขับนางรำาประจำากาย ก็อยู่ได้ เพราะเกณฑ์เวรไม่มี ”
(จดบันทึกจากผ้าพานช้างในสถาบันทักษิณคดีศึกษา  จังหวัดสงขลา)

จากข้อความที่แฝงอยู่ในผ้าพานช้างได้เน้นยำาให้เห็นว่าชาวบ้านนา หมื่นศรียึดถือหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “มรณานุสติ” หรือ การระลึกถึงความตายอย่างเหนียวแน่น โดยยังคงถูกสืบทอดต่อกันมาในชุมชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จะเห็นได้ว่าผ้านาหมื่นศรีทั้ง 4 ชนิดได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง ความเชื่อกับพิธีกรรมแตกต่างกันออกไป ความเชื่อเหล่านี้จึงส่งผลให้ชาวบ้านนาหมื่นศรีเชื่อในการประกอบกรรมดีในโลกแห่งความเป็นจริงที่ยังคงดำรงชีวิตอยู่

ไม่เพียงแต่จะค้นพบผ้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง ความเชื่อกับพิธีกรรม แต่เป็นการค้นพบสายใยสัมพันธ์ของคนทอผ้าผ่าน ผ้าทอแต่ละผืน อันเกิดเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับ ธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ กล่าวคือ การทอผ้าได้ช่วยสร้าง ความร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงสมาชิกในชุมชน โดยผู้ชายจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและตระเตรียม อุปกรณ์ในการทอผ้าให้แก่ผู้หญิงผู้เป็นคนถักทอ พร้อมกันนี้คนเฒ่าคนแก่ ก็จะคอยให้คำาปรึกษาด้านการทอและลวดลายต่างๆ สำาหรับความสัมพันธ์

ในแง่ของคนกับธรรมชาติในที่นี้หมายถึง การรู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการย้อมสีผ้า ส่วนความสัมพันธ์ของคนกับ สิ่งเหนือธรรมชาตินั้นจะสัมพันธ์กันในแง่ของความเชื่อ ความเคารพ ความ ศรัทธาในสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยสิ่งๆ นั้นมักมีอิทธิพลต่อจิตใจและการกระทำของคน ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งสามส่วนนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย

ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีพื้นฐานความเชื่อที่มองสรรพสิ่งต่างๆ ในลักษณะระบบความสัมพันธ์ที่มีความเชื่อมโยงมีการพึ่งพาอาศัยกันระหว่าง มนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ ก็จะทำให้มนุษย์เชื่อมโยงระบบ ความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายธรรมชาติ และสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างปลอดภัย โดยอาศัยความเชื่อในสิ่ง เหนือธรรมชาติช่วยกำหนดระเบียบกติกา ให้คนในชุมชนใช้ประโยชน์จาก ธรรมชาติอย่างสมดุล อันแสดงให้เห็นถึงอำานาจในการจัดการธรรมชาติ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อนำพาคนในชุมชนไปสู่ความมีชีวิตที่ดีงาม

ที่มา :
“ผ้า” สื่อกลางระหว่างความเชื่อกับพิธีกรรม : กรณีศึกษา ผ้านาหมื่นศรี อำาเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดย ชนกมลย์ คงยก
“Textiles” as the Mediums of Belief and Ritual : A Case Study of Na Meun Sri Textiles, Na Yong District, Trang Province  by Chanakamol Kongyok

Shopping Cart