สีย้อมผ้าที่ได้จากธรรมชาติโดยการนำส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ผล ราก เปลือกลำต้น แกนลำต้น มาต้มสกัดเป็นสีย้อม สีธรรมชาติสามารถย้อม เส้นใยไหม และเส้นใยฝ้าย ในการย้อมจำเป็นต้องใช้สารช่วยติด เพื่อให้สีติดอยู่ในเส้นใย โดยไม่เคลื่อนย้ายออกจากเส้นใยทำให้เกิดความคงทนต่อการซักดีขึ้น
วัตถุดิบธรรมชาติที่ได้จากพรรณไม้มีมากมายหลายชนิด เช่น
กระโดน
ชื่อท้องถิ่น: ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว พุย ขุย ผ้าฮาด กะนอ จิก
ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น
สีที่ได้: น้ำตาลดำ
กล้วย
ชื่อท้องถิ่น: กล้วยน้ำว้า
ส่วนที่ใช้ : กาบหุ้มลำต้น
สีที่ได้: สีชมพูอ่อน สีเทา
กาแฟ
ชื่อท้องถิ่น: กาแฟ
ส่วนที่ใช้ : ใช้เปลือกและ เมล็ดคั่วบดละเอียด
สีที่ได้: สีน้ำตาล
ขนุน
ชื่อท้องถิ่น: หนุน หมากมี่ หมากลาง มะหนุน ขะนู นากอ นะยวย
ส่วนที่ใช้ : แก่นต้นป่นละเอียด
สีที่ได้: สีเหลือง สีน้ำตาล
แกแล (เข)
ชื่อท้องถิ่น: แกก้อง แกแล สักขี เหลือง แกล แหร เข ช้างงาต้อก น้ำเคี่ยโซ่ หนามเข กะเลอะเซอะ
ส่วนที่ใช้ : แก่น ที่มีอายุประมาณ 30 ปี ขึ้นไป
สีที่ได้: สีเหลือง
โกงกางใบเล็กและ โกงกางใบใหญ่
ชื่อท้องถิ่น: โกงกาง โกงกางใบเล็ก พังกาทราย พังกาใบเล็ก กงกอน โกงกางนอก กงกางนอก กงเกง กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ โกงกางใบใหญ่ ลาน
ส่วนที่ใช้ : เปลือกแห้งพอหมาด
สีที่ได้: น้ำตาล
ขมิ้น
ชื่อท้องถิ่น: ขมิ้น ขมิ้นชัน เข้ามิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นหัว ขมิ้นหยวก ขมิ้นแกง ตายอ หมิ้น ขี้มิ้น
ส่วนที่ใช้ : หัว เหง้า บดละเอียด
สีที่ได้: สีเหลือง
ขี้เหล็กบ้าน
ชื่อท้องถิ่น: ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็ก
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สีที่ได้: สีเหลือง สีเหลืองอมเขียว หรือ สีน้ำตาลเขียว
ครั่ง
ชื่อท้องถิ่น: ครั่งดุ้น ครั่งดิบ ครั่ง จุ้ยเก้ง
ส่วนที่ใช้ : รัง ยางครั่งบดละเอียด
สีที่ได้: สีชมพู สีแดง
คราม
ชื่อท้องถิ่น: คราม คาม ครามย้อม
ส่วนที่ใช้ : ใบ
สีที่ได้: สีฟ้า สีน้ำเงิน
คำแสด
ชื่อท้องถิ่น: คำเงาะ คำแงะ คำไทย คำแผด คำยอง ชาตี จำปู้ ส้มปู้ ชาด ชิติ
ส่วนที่ใช้ : เมล็ดสีแดง ผลสุก
สีที่ได้: สีส้มแสด
ดอกคำฝอย
ชื่อท้องถิ่น: ดอยคำ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ม หงฮวา อั่งฮวย
ส่วนที่ใช้ : กลีบดอก
สีที่ได้: สีแดง
ดาวเรือง
ชื่อท้องถิ่น: คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทู
ส่วนที่ใช้ : ดอก
สีที่ได้: สีเหลือง
ประดู่ป่า
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น แก่นต้น
สีที่ได้: สีน้ำตาล
ฝาง
ชื่อท้องถิ่น: ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย หนามโค้ง โซปั้ก
ส่วนที่ใช้ : แก่น ฝัก
สีที่ได้: แก่นฝางให้สีส้มแดง ฝักของฝางให้สีน้ำตาลออกกะปิ แต่ให้สีไม่ดีนัก ถ้าต้องการสีแดงต้องใช้ปริมาณมาก
มะม่วงป่า
ชื่อท้องถิ่น: มะม่วงป่า มะม่วงพรวน มะม่วงเทพรส มะม่วงกะล่อน มะม่วงขี้ไต้
ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น
สีที่ได้: สีน้ำตาลอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน
มะเกลือ
ชื่อท้องถิ่น: มะเกีย มะเกือ ผีผา เกลือ มักเกลือ
ส่วนที่ใช้ : ผล
สีที่ได้: สีดำ สีเทา
มังคุด
ชื่อท้องถิ่น: มังคุด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกผล
สีที่ได้: น้ำตาล สีเขียวขี้ม้า
ยอบ้าน
ชื่อท้องถิ่น: มะตาเสือ แยใหญ่
ส่วนที่ใช้ : รากและแก่น
สีที่ได้: สีแดงอมส้ม สีเหลืองอมส้ม หรือสีเขียวอ่อน
รกฟ้า
ชื่อท้องถิ่น: กอง คลี้ จะลีก ชะลีก เชือก เซียก ฮกฟ้า
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น
สีที่ได้: สีดำ
สมอไทย
ชื่อท้องถิ่น: สมอไทย สมออัพยา ส้มมอ
ส่วนที่ใช้ : เปลือก
สีที่ได้: สีดำ สีเขียว
สะเดา
ส่วนที่ใช้ : เปลือก แก่น ใบ ยางจากกิ่งและลำต้นสามารถนำมาใช้ในการตรึงสีที่ย้อมไหมได้
สีที่ได้: สีน้ำตาล, สีน้ำตาลอ่อน
สีเสียดเหนือ
ชื่อท้องถิ่น: สีเสียด สีเสียดแก่น สีเสียดเหลือง
ส่วนที่ใช้ : เปลือก
สีที่ได้: สีน้ำตาล สีน้ำตาลอมแดง
หูกวาง
ชื่อท้องถิ่น: หูกวาง โคน คัดมือหลุมบัง ตาปัง
ส่วนที่ใช้ : ใบ
สีที่ได้: สีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว
พันธุ์ไม้อื่น ๆ
พันธุ์ไม้ | ส่วนที่ใช้ย้อม | สารที่ช่วยติดสี | สีที่ย้อมได้ |
กระโดน | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาล |
กระถิน | ต้น | เกลือ | น้ำตาล |
แก้ว (ดอกแก้ว) | ใบ | จุนสี | เขียวตองอ่อน |
ข้าว | ใบกล้าข้าว | จุนสี | เขียวออกเหลือง |
ขี้เหล็กเทศ | ดอก | จุนสี | น้ำตาลเข้ม |
เข | แก่น | สารส้ม | เหลืองทอง |
ขนุน | แก่น | สารส้ม | เหลือง |
คำแสด | เมล็ด | – | ส้ม |
คูน | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลทองเหลือง |
คูน | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลเข้ม |
ครั่ง | รัง | มะขามเปียก+สารส้ม | แดงอมม่วง |
โคลนดำ | เนื้อโคลน | – | เทา ดำ |
จามจุรี | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลอ่อน |
ชงโค | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลอ่อน |
ชมพู่แก้มแหม่ม | ใบ | จุนสี | น้ำตาล |
ชุมเห็ด (ต้นขี้กราก) | ใบ | จุนสี | น้ำตาลออกเขียว |
ดาวกระจาย | กลีบดอก | สารส้ม | เหลืองส้ม |
ดางเรือง | กลีบดอก | สารส้ม | เหลืองทอง |
ดินแดง | เนื้อดิน | – | สีปูน |
ตะขบไทย | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้า |
ตะขบฝรั่ง | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาล |
ตะแบก | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
ตะแบก | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกเขียว |
ตาล | ก้าน | จุนสี | น้ำตาล |
ติ้ว | เปลือกของต้น | โคลนดำ | ดำออกน้ำตาล |
ทับทิม | เปลือกของผลสด | สารส้ม | เหลืองดำ |
ทองกวาว | เปลือกของต้น | จุนสี | สีโอวัลติน |
นนทรี (อะราง) | เปลือกของต้น | โคลนดำ | น้ำตาลออกดำ |
นนทรี (อะราง) | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกส้ม |
นนทรี (อะราง) | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
ประดู่ | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
ประดู่ | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกแดง |
ฝาง | แก่นไม้ | สารส้ม | แดงออกส้ม |
ฝรั่งขี้นก | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
พะยอม | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
เพกา (ลิ้นฟ้า) | เปลือกของต้น | สารส้ม | เหลือง |
เพกา (ลิ้นฟ้า) | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกเหลือง |
เพกา (ลิ้นฟ้า) | เปลือกของต้น | สารส้มแล้วหมักโคลนดำ | เขียวขี้ม้า |
เฟื้องฟ้า (ดอกสีชมพู) | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้าอ่อน |
เฟื้องฟ้า (ดอกสีชมพู) | ดอก | สารส้ม | สีส้มอ่อน |
มะกรูด | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้าอ่อน |
มะเกลือ | ผลดิบ | โคลนดำ | ดำ |
มะขามป่า | เปลือกขอนต้น | สารส้ม | น้ำตาล |
มะพร้าว | เปลือกผลอ่อน | – | น้ำตาลออกชมพู(อ่อน) |
มะพร้าว | เปลือกผลอ่อน | จุนสี+สารส้ม | น้ำตาลออกชมพู(เข้ม) |
มะพร้าว | เปลือกผลอ่อน | โคลนดำ | เทาอมม่วง |
มะพร้าว | เปลือกผลแก่ | – | น้ำตาล (โอวัลติน) |
มะพร้าว | เปลือกผลแก่ | จุนสี+สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
มะพร้าว | เปลือกผลแก่ | โคลนดำ | เทาออกน้ำตาล |
มะม่วงแก้ว | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกเขียว |
มะม่วงแก้ว | เปลือกของต้น | น้ำมะขามเปียก | น้ำตาลออกส้ม |
มะม่วงแก้ว | เปลือกของต้น | สารส้ม | เหลืองอมน้ำตาล |
มะม่วงแก้ว | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้า |
มะม่วงแก้ว | ใบ | สารส้ม | เหลือมอมน้ำตาล |
มะเหลี่ยม | ผลดิบ | จุนสี+สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
มังคุด | เปลือกผลสด | น้ำปูนใส | น้ำตาลออกส้ม |
มังคุด | เปลือกผลสด | จุนสี+สารส้ม | น้ำตาลเหลือง |
ยูคาลิปตัส | ใบ | สารส้ม | เหลืองอมเขียว |
ยอป่า | ราก | สารส้ม | ส้ม |
ยอป่า | ใบ | สารส้ม | เหลืองอมน้ำตาล |
ระหุ่ง | ใบ | สารส้ม | เหลืองอ่อน |
เล็บมือนาง (สะมัง) | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้าอมน้ำตาล |
สะแก | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
สะเดา | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกแดง |
สาบเสือ | ใบ | จุนสี | เขียวขี้ม้า |
สักอ่อน | ใบ | น้ำมะขามเปียก | แดงออกน้ำตาล |
สบู่แดง (สบู่เลือด) | ใบ | จุนสี | เขียว |
สบู่แดง (สบู่เลือด) | ใบ | สารส้ม | เขียวออกเหลือง |
สมอ | ใบ | จุนสี | เขียวออกน้ำตาล |
สมอ | ใบ | สารส้ม | เหลืองอมเขียว |
สมอ | ผล | สารส้ม | เหลืองอมเขียว |
สมอ | เปลือกของต้น | จุนสี | น้ำตาลออกเขียวเข้ม |
สมอ | เปลือกของต้น | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
หูกวาง | ใบ | จุนสี | เขียวอมน้ำตาล |
หูกวาง | ใบ | สารส้ม | เหลืองออกเขียว |
หมาก | เนื้อผล | – | น้ำตาลอมชมพู |
หมาก | เนื้อผล | จุนสี | น้ำตาลออกแดงเข้ม |
หมาก | เนื้อผล | สารส้ม | น้ำตาลออกเหลือง |
หว้า | เปลือกของต้น | – | น้ำตาล |
หว้า | เปลือกของต้น | โคลนดำ | ดำออกเทา |
อ้างอิง : นันทนัช พิเชษฐวิทย์. เอกสารประกอบการอบรม เทคนิคการฟอกย้อมไหม. บุรีรัมย์: คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์